ซาวด์มีเดีย เทรดดิ้ง จำหน่ายวิทยุสื่อสารและไฟไซเรน ปลีก-ส่ง สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ
ข้อมูลข่าวสาร

เทคนิคการเลือกใช้สายนำสัญญาณสำหรับวิทยุสื่อสาร <2>

โพสเมื่อ 2012-12-07 10:59:11
พิมพ์หน้านี้
ดาวน์โหลด PDF

ตารางที่ 1 ตารางคุณสมบัติสายโคแอกเชียลที่นิยมใช้งาน


ค่าอิมพีแดนซ์ ตัวคูณความเร็ว ค่าความจุไฟฟ้า เส้นผ่าศูนย์กลาง วัสสดุที่ใช้ทำ แรงดันใช้งานสูงสุด
(Ohm) (Velocity Factor) (pF/ฟุต) (นิ้ว) ไดอิเล็กทริก (Vrms)
RG - 6 75 0.75 18.6 0.266 Foam PE 400
RG - 8X 52 0.75 26 0.242 Foam PE 300
RG - 8 52 0.66 29.5 0.405 PE 4000
RG - 8 foam 50 0.80 25.4 0.405 Foam PE 1500
RG - 8A 52 0.66 29.5 0.405 PE 5000
RG - 9 51 0.66 30 0.42 PE 4000
RG - 9A 51 0.66 30 0.42 PE 4000
RG - 9B 50 0.66 30.8 0.42 PE 5000
RG - 11 75 0.66 20.6 0.405 PE 4000
RG - 11 foam 75 0.80 16.9 0.405 Foam PE 1600
RG - 11A 75 0.66 20.6 0.405 PE 5000
RG - 12 75 0.66 20.6 0.475 PE 4000
RG - 12A 75 0.66 20.6 0.475 PE 5000
RG -17 52 0.66 29.5 0.87 PE 11000
RG - 17A 52 0.66 29.5 0.87 PE 11000
RG - 55 53.5 0.66 28.5 0.216 PE 1900
RG - 55A 50 0.66 30.8 0.216 PE 1900
RG - 55B 53.5 0.66 28.5 0.216 PE 1900
RG - 58 53.5 0.66 28.5 0.195 PE 1900
RG - 58 foam 53.5 0.79 28.5 0.195 Foam PE 600
RG - 58A 53.5 0.66 28.5 0.195 PE 1900
RG - 58B 53.5 0.66 28.5 0.195 PE 1900
RG - 58C 50 0.66 30.8 0.195 PE 1900
RG - 59 73 0.66 21 0.242 PE 2300
RG - 59 foam 75 0.79 16.9 0.242 Foam PE 800
RG - 59A 73 0.66 21 0.242 PE 2300
RG - 62 93 0.86 13.5 0.242 Air Space PE 750
RG - 62A 93 0.86 13.5 0.242 Air Space PE 750
RG - 62B 93 0.86 13.5 0.242 Air Space PE 750
RG - 133A 95 0.66 16.2 0.405 PE 4000
RG - 141 50 0.70 29.4 0.19 PTFE 1900
RG - 141A 50 0.70 29.4 0.19 PTFE 1900
RG - 142 50 0.70 29.4 0.206 PTFE 1900
RG - 142A 50 0.70 29.4 0.206 PTFE 1900
RG - 142B 50 0.70 29.4 0.195 PTFE 1900
RG - 174 50 0.66 30.8 0.1 PE 1500
RG - 213 50 0.66 30.8 0.405 PE 5000
RG - 214 50 0.66 30.8 0.425 PE 5000
RG - 215 50 0.66 30.8 0.475 PE 5000
RG - 216 75 0.66 20.6 0.425 PE 5000
RG - 223 50 0.66 30.8 0.212 PE 1900
9913 (Belden) 50 0.84 24 0.405 Air Space PE N/A
9914 (Belden) 50 0.78 26 0.405 Foam PE N/A

ความหมายของตัวย่อของสารที่ทำเป็นไดอิเล็กทริก

PE โพลีเอททีลีน อุณหภูมิใช้งาน (C) -65 ถึง +80 
Foam PE โฟมโพลีเอททีลีน อุณหภูมิใช้งาน (C) -65 ถึง +80 
PTFE เทฟล่อน อุณหภูมิใช้งาน (C) -250 ถึง +25


มาตรฐานของสายนำสัญญาณ
สายนำสัญญาณทุกแบบถูผลิตตามมาตรฐาน MIL - C -17 ในกิจการทางด้านทหารของสหรัฐอเมริกา และ JIS C 3501 ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งบริษัทผู้ผลิตต่างๆ จะนำมาผลิตสายนำสัญญาณยี่ห้อของตนตามมาตรฐานจำพวกนี้ และกำหนดเบอร์ของสายออกมา ซึ่งจะบอกคุณลักษณะของสายนำสัญญาณ เช่น

มาตรฐาน MIL- C -17 RG-58 A/U
RG ย่อมาจาก Radio Guide ก็คือสายนำสัญญาณวิทยุนั่นเอง 
58 เป็นเบอร์ของสาย
อักษรตัวแรก อาจมีหรือไม่มีก็ได้แสดงการเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงวัสดุ เช่น เปลือกหุ้ม จำนวนลวดตัวนำ อิมพีแดนซืเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย การสูญเสียต่างกันเล็กน้อย
/U หมายถึง Utility หรือ Universal คือการใช้วานทั่วไป

มาตรฐาน JIS C 3501 5D-FB
ตัวเลขตัวแรก คือ ขนาดเส็นผ่าศูนย์กลางภายนอก โดยประมาณ ของไดอิเล็กทริก
อักษรหลังตัวเลข คือ ค่าอิมพีแดนซ์ C = 75 โอมห์ D = 50 โอมห์
อักษรหลังขีด แสดงวัสดุที่ทำไดอิเล็กทริก F คือ โฟม ถ้าเป็นเลข 2 คือ PE
อักษรตัวสุดท้าย แสดงลักษณะของชิลด์ และเปลือกหุ้มสาย
B = ชิลด์ทองแดง + ชิดล์ อะลูมืเนียม + PVC
E = ชีลด์ทองแดง + PE
L = ชีลด์อะลูมิเนียม + PVC
N = ชิลด์ทองแดง + ไนล่อยถัก
V = ชีลด์ทองแดง + PVC
W = ชิลด์ทองแดงทักสองชั้น + PVC
การเลือกใช้สายนำสัญญาณ

  - สำหรับทาวเออร์แล้วควรใช้สายนำสัญญาณเส้นใหญ่ๆ และค่าการสูญเสียต่ำ เพื่อให้ความสูงของสายอากาศเกิดประโยชน์เต็มที่ และการสูญเสียน้อยที่สุด ถ้าใช้สายนำสัญญาณเล็กๆ บางครั้ง สายอากาศที่อยู่ต่ำกว่าแต่การสูญเสียน้อยจะรับส่งได้ดีกว่าเสียอีก

  - สายอากาศทิศทางที่ต้องใช้โรเตอร์ช่วยหมุนหาทิศทาง ควรใช้สายนำสัญญาณแบบที่มีตัวนำตรงกลางหลายๆ เส้น จะได้ไม่ขาดเร็วเกินไป แต่ก็ไม่ควรใช้สายโฟม เพราะไดอิเล็กทริกนิ่มและมีรูพรุนเมื่อถูโค้งงอบ่อยๆ ตัวนำตรงกลางอาจเบียดออกด้านข้างไม่อยู่ในแนวกลางเหมือนเดิม อิมพีแดนซ์ของสายอากาศจะเปลี่ยนไปทำให้ค่าการสูญเสียเพิ่มขึ้น

  - สายโฟมและสายที่มีตัวนำตรงกลางเส้นเดียวมีการสูญเสียน้อย เหมาะสำหรับการใช้งานตายตัว เช่น ใช้กับสายอากาศแบบรอบตัว

  - สายอากาศที่ต้องตากแดดตาดฝนอยู่ตลอดปี ควรเลือกใช้สายนำสัญญาณแบบที่เปลือกหุ้มทำจากสาร NMV แทน PVC เช่น สายเบอร์ RG-58 C/U แทน RG-58 A/U

มาถึงตอนนี้หวังว่าเพื่อนๆ ผู้ที่กำลังจะพัฒนาสถานีของตนเอง คงจะมีความรู้เพิ่มขึ้นในการเลือกใช้สายนำสัญญาณ จากที่อาจจะไม่ค่อยให้ความสำคัญของสายนำสัญญาณเลยหรือให้ความสำคัญน้อยมาก หลายคนอาจจะให้ความสำคัญกับสายอากาศมากกว่า แต่แท้ที่จริงการเลือกใช้สายนำสัญญาณให้ เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานมีผลต่อระบบการสื่อสารมากไม่แพ้สายอากาศทีเดียว ฉะนั้นเรามาใช้งานสายนำสัญญาณแบบผู้รู้ ซึ่งจะทำให้เราประหยัดและสถานีมีคุณภาพ