

จิตสำนึกของคนเล่น ว.

จากการที่ความต้องการในการใช้วิทยุสื่อสารไม่ได้ลดน้อยถอยลง ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีในการสื่อสารจะพัฒนาไปมากเพียงใดก็ตาม แต่กลับมีผู้ต้องการใช้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอาสาสมัคร เช่น อปพร. หน่วยกู้ชีพ หน่วยกู้ภัย ซึ่งบางท่านก็มีความรู้เกี่ยวกับวิทยุสื่อสารเป็นอย่างดี อีกทั้งได้ผ่านการอบรมหรือการสอบการใช้ฟังวิทยุสื่อสารมาแล้ว |
||||||||||||||||||||
แต่บางท่านก็ไม่รู้อะไรมากไปกว่าการแอบเปิดฟังข่ายราชการเท่านั้น | ||||||||||||||||||||
แต่ที่หนักไปกว่านั้นก็คือเกิดคันไม้คันมือกดคีย์ออกอากาศ จะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตามแล้วก่อให้เกิดการรบกวนการประสานงานของหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวกับความมั่นคงแห่งชาติ ก็อาจโดนจับกุมดำเนินคดีมีโทษทั้งจำคุกและปรับ เดือดร้อนกันไปเปล่าๆ |
||||||||||||||||||||
ปัญหาอีกอย่างหนึ่งก็คือ ผู้ที่มีเครื่องเปิดแบนด์อยู่ ได้ตั้งความถี่ขึ้นใช้เรียกขานในกลุ่มของตนเอง โดยขาดความรู้ความเข้าใจ โดยหารู้ไม่ว่า ความถี่ตลอดย่านจะมีหน่วยงานต่างๆ ใช้งานกันอยู่ตลอด เช่น หน่วยงานเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งชาติ บก.ทหารสูงสุด ตำรวจ ปกครองกิจการวิทยุสมัครเล่น เป็นต้น |
||||||||||||||||||||
ตลอดย่านความถี่ VHF ตั้งแต่ 136.000 MHz จนถึง 174.000 MHz จะมีหน่วยงานต่างๆ ใช้งานอยู่จนเต็มตามที่ได้รับจัดสรรตลอดทั้งย่าน |
||||||||||||||||||||
อยากใช้ให้ถูก..... ไม่อยากเล่นเถื่อน... |
||||||||||||||||||||
ก็แค่เล่นวิทยุ ไม่เห็นต้อง จับ – ปรับ – ขัง เล้ย | ||||||||||||||||||||
แหม...คุณก็... นี่มันเกี่ยวกับความมั่นคงของชาตินี่ครับ |
||||||||||||||||||||
หากว่าใครๆ ก็ใช้ อยากตั้งความถี่อะไรก็ตั้งหน่วยงานราชการ, หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็คงประสานงานกันไม่ได้ผล ประชาชนก็ไม่มีความสุข ชาติบ้านเมืองก็คงวุ่นวาย เมื่อเกิดสาธารณภัยก็ไม่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ทันท่วงที |
||||||||||||||||||||
ใน พรบ. วิทยุคมนาคม ก็ได้มีการกล่าวถึงความผิดต่างๆ ที่เกี่ยงข้องกับการใช้วิทยุคมนาคมไว้หลายข้อด้วยกันจะขอยกมากล่าวเฉพาะที่ใกล้ๆ ตัวสักเล็กน้อย |
||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||
แล้วอย่างนี้จะรู้ได้ไง... ว่ามีสิทธิ์ใช้แบบไหน...? (เห็นใช้มั่วไปหมด) |
||||||||||||||||||||
เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ มีอยู่ 2 ประเภท |
||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||
หน่วยงานที่มีสิทธิ์ใช้ได้แก่ | ||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||
ผู้ที่มีสิทธิ์ใช้ได้แก่ | ||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||
2.ผ่านการฝึกอบรม การใช้เครื่องวิทยุแบบสังเคราะห์ความถี่ประเภท 2 และตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับการสื่อสาร พ.ศ. 2525 | ||||||||||||||||||||
3.ต้องได้รับความเห็นชอบ จากหัวหน้า หน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจ แล้วแต่กรณีว่ามีความจำเป็นต้องใช้เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามกฏหมายวิทยุคมนาคมและระเบียบที่ทางราชการกำหนด | ||||||||||||||||||||
ทำยังไง..? ถึงจะมีสิทธิใช้โดยถูกต้อง |
||||||||||||||||||||
ง่ายๆ หากต้องการใช้วิทยุสื่อสารให้ถูกต้องให้ยึดหลัก “3 ค” ดังจะกล่าวต่อไปนี้ | ||||||||||||||||||||
ค. ที่ 1 ความถูกต้อง คือ ต้องอยู่ในย่านความถี่ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น | ||||||||||||||||||||
ค. ที่ 2 เครื่องถูกต้อง คือได้มาตามขั้นตอนตามกฏหมาย เช่นนำเข้าโดยถูกต้องและได้เสียภาษีนำเข้ากับกรมศุลกากรและเครื่องจะมีหมายเลข กทช. กำกับ | ||||||||||||||||||||
ค. ที่ 3 คนถูกต้อง ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้ต้องผ่านการอบรมหรืออบรมและสอบหรือสอบ เช่นผู้ที่ใช้ร่วมข่ายราชการต้องผ่านการอบรมการใช้วิทยุสังเคราะห์ความถี่ตามระเบียบที่กำหนด ผู้ที่ใช้ความถี่ข่ายวิทยุสมัครเล่นต้องผ่านการอบรมและสอบหรือการสอบเพื่อรับใบประกาศพนักงานวิทยุสมัครเล่น |
||||||||||||||||||||
ดังนั้น ไม่ว่าจะใช้ร่วมข่ายราชการ หรือเป็นนักวิทยุสมัครเล่น ที่สำคัญ ต้องทำให้ตนเองมีสิทธิ์ก่อน เช่น หากเป็น อปพร. ก็ต้องผ่านการอบรมการใช้วิทยุสังเคราะห์ความถี่ประเภทสอง และต้องเป็นการอบรมโดยกองการสื่อสารกรมการปกครอง | ||||||||||||||||||||
แต่ อปพร. อาสาสมัคร รวมทั้งภาคเอกชน ยังมีทางเลือกอีกหนึ่งทาง นั่นก็คือ การใช้วิทยุย่านความถี่ประชาชน ซึ่งก็มีทั้ง CB27 MHz 78 MH, 245 MHz | ||||||||||||||||||||
โดยเฉพาะอย่างยิ่งความถี่ประชาชนย่าน 245 MHz ประสิทธิภาพทุกอย่างก็ไม่ด้อยไปกว่าเครื่องข่ายราชการหรือสมัครเล่นเลย ติดตาม “จิตสำนึกคนเล่น ว. ตอนที่ 3” ซึ่งเป็นบทสรุปสำหรับผู้ที่คิดอยากเล่นวิทยุให้ถูกกฏหมาย และหลีกเลี่ยงการเล่นเถื่อนที่ผิดกฏหมายจะได้ไม่ต้องโดน ว.20 ต่อไป |