ซาวด์มีเดีย เทรดดิ้ง จำหน่ายวิทยุสื่อสารและไฟไซเรน ปลีก-ส่ง สมัครสมาชิก เข้าสู่ระบบ
ข้อมูลข่าวสาร

ประเภทวิทยุสื่อสารและการขออนุญาติ

โพสเมื่อ 2012-09-28 15:49:43
พิมพ์หน้านี้
ดาวน์โหลด PDF

วิทยุสื่อสาร

1.วิทยุสื่อสารเครื่องแดง ย่านความถี่ 245MHz

2.วิทยุสื่อสารสมัครเล่นเครื่องดำ ย่านความถี่ 144-146MHz

3.วิทยุสื่อสารราชการเครื่องดำ ย่านความถี่ 136-174MH

1.วิทยุสื่อสารเครื่องแดง ย่านความถี่ 245MHz หรือ คลื่นความถี่ประชาชน หรือ CB-245 MHz

วิทยุชนิดนี้ ตัวเครื่องจะเป็นสีแดงเพื่อแยกให้เด่นชัดว่าเป็นเครื่องสำหรับกลุ่มประชาชนทั่วไป ประชาชนทั่วไปสามารถซื้อและยื่นขออนุญาตให้ใช้เครื่องที่ กสทช. ได้เลย โดยไม่ต้องสอบ ลักษณะการใช้งานส่วนใหญ่มักใช้ในกลุ่มบริษัทรักษาความปลอดภัย บริษัทก่อสร้าง  บริษัทท่องเที่ยว กลุ่มโรงงานขนาดใหญ่ โรงแรม รีสอร์ท งานคอนเสิร์ต สนามกอล์ฟ  แต่ปัจจุบันมีการนำมาใช้เพื่อความสะดวกในกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกันอย่างกว้างขวาง เช่น ร้านอาหาร ภัตตาคาร ร้านค้า ร้านขายเสื้อผ้า ร้านค้าปลีกย่อยที่มีการเช็คสต๊อกจากหน้าร้าน แรลลี่ เที่ยวเป็นหมู่คณะ

2.วิทยุสื่อสารสมัครเล่นเครื่องดำ ย่านความถี่ 144-146MHz

วิทยุชนิดนี้ ผู้ที่จะใช้งานต้องเป็นนักวิทยุสมัครเล่น(Amateur Radio)โดยต้องผ่านการสอบจาก กสทช. เมื่อสอบผ่านก็จะได้ใบประกาศษณีย์บัตรและนำไปขอนามเรียกขานเพื่อเอาไว้เรียกแทนตัวท่าน

3.วิทยุสื่อสารราชการเครื่องดำ ย่านความถี่ 136-174MHz

วิทยุสื่อสารชนิดนี้ผู้ใช้งานจะต้องมีอาชีพเป็นข้าราชการหรืออาสาสมัครของมูลนิธิต่างๆหรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานเอกชนซึ่ง กสทช.อนุญาต ผู้ใดที่มีอาชีพตามที่หลักการกำหนดไว้นี้สามารถใช้วิทยุสื่อสารชนิดนี้ได้ทั่วราชอาณาจักรโดยไม่จำเป็นที่จะต้องไปขอทำใบอนุญาตจาก กสทช. แต่จะต้องพกบัตรประจำตัวที่ทางหน่วยงานของท่านออกให้ติดตัวไปด้วยเสมอเมื่อมีการพกพาวิทยุสื่อสารชนิดนี้ติดตัวไปเพื่อใช้งานในทุกสถานที่

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เอกสารประกอบการขอใบอนุญาตมีใช้วิทยุสื่อสาร

กรณีเป็นบุคคลธรรมดา เอกสารที่ต้องใช้ดังนี้

1)  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมลงชื่อ 1 ใบ

2)  สำเนาทะเบียนบ้าน  พร้อมลงชื่อ 1 ใบ (ด้านที่มีบ้านเลขที่ และชื่อผู้ซื้อเครื่อง)

3)  กรอกแบบฟอร์มคำร้อง ฉก. 2 (กทช.)  จำนวน 1 ฉบับ

4)  ลงชื่อช่องผู้มอบอำนาจ (หนังสือมอบอำนาจ) ในกรณีให้บุคคลหรือร้านค้าดำเนินการให้ พร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท

  5)  แจ้งหมายเลข ป.ท. วิทยุสื่อสาร (หมายเลขที่มีสัญลักษณ์รูปครุฑ)

6)  ค่าใบอนุญาต 535 บาท/ต่อเครื่อง

กรณีเป็นบริษัทฯ/นิติบุคคล เอกสารที่ต้องใช้ดังนี้

1) ถ่ายหนังสือรับรองจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมลงชื่อ

และประทับตราสำคัญ (ทุกหน้าเอกสาร)

2) ถ่ายสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้จัดการ/หรือผู้มีอำนาจพร้อมลงชื่อ 1 ใบ

3) ใบมอบอำนาจ (พร้อมประทับตราและเซ็นต์รับรอง ติดอากรแสตมป์ 10 บาท)

(ในกรณีให้ร้านค้าหรือบุคคลดำเนินการแทน)

4) กรอกแบบฟอร์มคำร้อง ฉก. 2 (กทช.)  จำนวน 1 ฉบับ

5) แจ้งหมายเลข ป.ท. วิทยุสื่อสาร (หมายเลขที่มีสัญลักษณ์รูปครุฑ)

6) ค่าใบอนุญาต 535 บาท/ต่อเครื่อง

หมายเหตุ

กรณีซื้อวิทยุสื่อสาร 245 มากกว่า 1 เครื่องขึ้นไป ใช้เอกสารเพียง 1 ชุดเท่านั้น (ทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล)

เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการขอใบอนุญาตตั้งสถานี เอกสารที่ต้องใช้ดังนี้

  1)  สำเนาทะเบียนบ้าน

2)  สำเนาบัตรประชาชน

3)  ใบมอบอำนาจพร้อมติดอาการแสตมป์ 10 บาท

4)  หนังสือรับรองบริษัท (กรณีเป็นนิติบุคคล)

5)  ค่าใบอนุญาต 1,070 บาทต่อเครื่อง

6)  แผนผังตำแหน่งที่ตั้งเครื่องวิทยุสื่อสาร

หากต้องการตั้งเสาสูง ติดสายอากาศเพื่อให้ส่งได้ไกลหรือติดสายอากาศรถยนต์ จะต้องขอใบอนุญาตจากกรมไปรษณีย์โทรเลข เรียกว่า   ใบอนุญาตตั้งสถานี ค่าใบอนุญาต 1,000 บาท ต่อ 1 บ้านหรือ รถ 1 คันใช้ได้จนกว่าจะเปลี่ยนรถ หรือย้ายบ้าน ซึ่งต้องขออนุญาตใหม่ ส่วนหลักฐานในการขอใบอนุญาต คือ สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนรถ หรือสำเนาทะเบียนบ้านและแผนที่บ้านคร่าวๆ ถ้าชื่อในทะเบียนบ้านหรือทะเบียนรถไม่ใช่ของผู้ขอจะต้องมีใบยินยอมจากผู้ที่มีชื่อเป็นเจ้าของ

- การทำผิดกฎหมายวิทยุสื่อสารโดยไม่มีใบอนุญาตนั้น มีความผิดพลาดตามมาตรา 23 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1 แสนบาทหรือจำคุกไม่เกินห้าปีหรือทั้งจำทั้งปรับตามพ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498